Author Archives: admin

blog3

ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ต

หลักการพิมพ์แบบออฟเซต (Offset) หลักการสำคัญคือน้ำและน้ำมันจะไม่ผสมเข้าด้วยกัน โดยเพลตที่ผลิตขึ้นจะอาบด้วยน้ำยาเคมีที่ทำให้ตัวเพลตอมหมึกแต่ไม่อมน้ำ ขั้นตอนแรก แผ่นเพลตจะถูกม้วนกับกระบอกเพลตที่หมุนได้ ซึ่งจะหมุนไปรับน้ำหมึกก่อน ขั้นตอนที่สอง หมึกจะถูกส่งต่อไปยังกระบอกพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นยาง ขั้นตอนที่สาม กระบอกพิมพ์จะส่งน้ำหมึกลงไปบนกระดาษที่ป้อนเข้ามา และสุดท้ายกระบอกกดจะมีหน้าที่กดกระดาษให้แนบกับกระบอกพิมพ์ กระบอกสามารถปรับแรงกดได้ตามความหนาของกระดาษที่ใช้พิมพ์ ซึ่งกระดาษที่มีผิวขรุขระจะต้องใช้แรงกดจากกระบอกกดมากเป็นพิเศษ เพื่อให้สีติดลงบนบนกระดาษอย่างทั่วถึง ข้อดีของการพิมพ์แบบออฟเซต (Offset) -มีคุณภาพการพิมพ์สูง เนื่องจากมีความละเอียดของเม็ดสกรีนถึง 175-200 เส้น/นิ้ว เหมาะกับงานที่ภาพที่สลับซับซ้อน และตัวหนังสือที่มีขนาดเล็กมาก -สามารถพิมพ์ได้บนเกือบทุกพื้นผิว และยังสามารถพิมพ์ได้ที่ความหนาตั้งแต่ 55-600 แกรม -พิมพ์งานปริมาณมากด้วยเวลาอันรวดเร็ว เพราะเครื่องออฟเซตมีความเร็วในการพิมพ์ถึง 160 แผ่น/นาที -ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ลดลง เมื่อจำนวนสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น เพลตพิมพ์ (Plate) เพลตพิมพ์จะถูกอัดแยกสีมาแต่ละเพลตโดยใช้หลักการแยกสีแบบ CMYK การพิมพ์งานสี่สีจึงต้องใช้แผ่นเพลตจำนวน 4 เพลตในการพิมพ์ และยังมีเพลตพิเศษเพื่อรับหน้าที่พิมพ์สีพิเศษโดยเฉพาะ เช่น สีทอง สีเงิน สีสะท้อนแสง และสีแพนโทน เป็นต้น

blog1

การเตรียมไฟล์สำหรับงานพิมพ์

การตั้งค่าระยะตัดตก และ ระยะปลอดภัย เพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุดเราควรมีการกำหนด ระยะตัดตก (Bleed) และ ระยะปลอดภัย (Safety Margin) ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการตัดเห็นขอบขาว และตัดโดนข้อมูลสำคัญ ตามตัวอย่างข้างล่างนี้ เส้นสีดำ คือ ขนาดงานปกติ ที่เราออกแบบมา เส้นสีแดง (Bleed) คือ ระยะตัดตกของภาพ เราต้องออกแบบชิ้นงานให้เกินขนาดงานปกติออกไปชนเส้นสีแดงนี้ เพื่อป้องกันการตัดเห็นขอบกระดาษสีขาว ระยะตัดตกของภาพคือ 3 mm. เกินออกไปรอบตัวงาน เส้นสีน้ำเงิน (Safety Margin) คือ ระยะปลอดภัยของภาพ เราควรออกแบบให้เนื้อหาสำคัญของชิ้นงานอยู่ภายในกรอบสีฟ้านี้เพื่อป้องกันข้อมูลสำคัญถูกตัดขาดไป ระยะปลอดภัยของภาพคือ 3 mm. เข้ามาข้างในรอบตัวงาน